กล้องจุลทรรศน์

บทกล้องจุลทรรศน์ อย่าคิดว่ามีแต่คำนวณเพราะจริงๆ แล้วบทนี้ในส่วนของบรรยายก็ออกข้อสอบ ซึ่งถ้ารู้จะสามารถทำข้อสอบข้อนั้นได้สบายๆ แล้วสิ่งที่ควรรู้คืออะไรหล่ะ?

กล้องจุลทรรศน์ 4 ประเภทที่ออกสอบ!
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) ใช้แสงขาวและเลนส์แก้ว ได้ภาพเสมือนหัวกลับ
1.ใช้แสงแบบธรรมดา (compound light) – ศึกษาโครงสร้างง่ายๆ
2.ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic) – ส่องได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและทึบแสง มองเห็นภาพ 3 มิติ เหมาะกับการส่องวัตถุที่ตาเปล่ามองเห็นแต่อยากเห็นรายละเอียด

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ใช้ลำแสงอิเล็กตรอนและเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า กำลังขยายสูงกว่า 
1.ส่องกราด (scanning electron) – ศึกษาโครงสร้าง 3 มิติ , ศึกษาพื้นผิว
2.ส่องผ่าน (transmission electron) – ศึกษาโครงสร้าง 2 มิติ , ศึกษาองค์ประกอบภายในเซลล์

ขอแนะนำอีก 1 วิธีการจำเนื้อหา คือ ใช้จำเป็นภาพแทนตัวอักษรก็ได้นะคะ