13 บท 13 จุดผิด เคมี ม.ปลาย

1. สารและสมบัติของสาร การอ่านชื่อ ถือว่าเป็นพื้นฐานของทุกบทในเคมี ม.ปลาย ถ้าจำทั้งหมดไม่ได้ ส่วนตัวคิดว่าการทำโจทย์เยอะๆ พอเจอสารที่ไม่รู้สูตรเคมี ก็จดใส่สมุดหรือ note แยกไว้ พอเรากลับมาทำอีกครั้ง ก็จะจำได้เองครับ

2. อะตอมและตารางธาตุ 
– IE คือ “พลังงาน” ที่ใช้ในการดึง 1 อิเล็กตรอน ออกจากอะตอมที่อยู่ในสถานะแก๊ส ให้กลายเป็นไอออนบวก
– EN คือ ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอน ซึ่งตัวที่มีค่า EN เยอะ คือ F, O, Cl, N และ Br

3. สมบัติของธาตุและสารประกอบ การหาเลข oxidation เราจะต้องดูให้ออกก่อนว่าจะทำตัวไหน แนะนำว่าเราควรไปจำสาร เช่น SO4 จะต้องรู้ว่าทั้งหมดนี้เป็น 2- พอไปรวมให้เกิดสารประกอบไอออนิก ตัวเลขจะต้องคูณไขว้ เป็นต้น

4. พันธะเคมี
– แรงภายในโมเลกุล ตัวอย่างเช่น พันธะโลหะ ไอออนิก โควาเลนต์
– แรงระหว่างโมเลกุล เกิดเฉพาะพันธะโควาเลนต์ ประกอบด้วย แรงลอนดอน(ไม่มีขั้ว) – แรงดึงดูดระหว่างขั้ว และ พันธะไฮโดรเจน

5. ปริมาณสารสัมพันธ์
โมล เป็นหน่วยการวัดปริมาณสาร ซึ่ง เราจะต้องหาโมลก่อน
ส่วนโมเลกุล คือ การเอาโมล x เลขอโวกาโดร ซึ่งจะเยอะกว่าโมลมากๆ เพราะเราควรตัวเลข 23 หลักเข้าไปแล้ว

6. ของแข็ง ของเหลว แก๊ส
หน่วยความดัน ฟิสิกส์ใช้ pascal เคมีใช้ atm หน่วยปริมาตร ฟิสิกส์ใช้ลูกบาศก์เมตร เคมีใช้ลูกบาศก์เดซิเมตร แต่ทั้งคู่ใช้ อุณหภูมิเป็น “เคลวิน” นะ

7. อัตราการเกิดปฏิกิริยา
Activation energy คือ พลังงานที่ต่ำที่สุดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี อย่างสับสนกันนะ อ่านกราฟภูเขาให้เป็นด้วย

8. สมดุลเคมี
ในการรบกวนสมดุล ค่า K จะเปลี่ยนเมื่อ T (อุณหภูมิ) เปลี่ยนเท่านั้น (P หรือ V ไม่มีผลให้ K เปลี่ยน)

9. กรดเบส
จำให้ได้ว่ากรดตัวไหนเป็นกรดอ่อน และกรดแก่ เพราะถ้าเราไม่รู้เวลาคำนวณกรดแก่จะแตกตัว 100% ในขณะที่กรดอ่อนไม่แตกตัว100% สำหรับคนเวลาน้อย จำกรดแก่ให้ได้นะ10. ไฟฟ้าเคมี
Oxidation vs Reduction พูดแค่นี้ เรียกได้ว่าแทบจะหมายถึงทั้งบทเลย จุดนี้สำคัญและออกทุกปีจริงๆเทไม่ได้นะ

10. ไฟฟ้าเคมี
Oxidation vs Reduction พูดแค่นี้ เรียกได้ว่าแทบจะหมายถึงทั้งบทเลย จุดนี้สำคัญและออกทุกปีจริงๆ เทไม่ได้นะ

11. เคมีอินทรีย์
แอลกอฮอล์ อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน carboxylic เอสเทอร์ เอมีน เอไมด์ บอกเลยว่าต้องจำทั้งสูตร ชื่อ และปฏิกิริยา

12. ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
บทบรรยายทั้งบท อ่านเรื่องการถลุงแร่ให้ดีๆนะ แต่บทนี้ก็ออกค่อนข้างกระจายจึงควรต้องอ่านหมด ถ้าคิดจะเก็บ

13. พอลิเมอร์
เราต้องแยกความแตกต่างของพลาสติกเทอร์โมพลาสติกและเทอร์โมเซตได้รวมถึงรู้ว่าของใช้ต่างๆ เป็นพลาสติกแบบไหน PAT2 หรือ สามัญ อาจจะไม่ออกเยอะมาก แต่ PAT3 วิศวกรรมเคยออกอยู่เหมือนกัน

15 จุดผิด ชีววิทยา part 1/3

หลังจากปล่อย Review หนังสือชีววิทยาแล้ว ได้รับความสนใจกับน้องๆ เป็นอย่างมาก วันนี้เลยขอปล่อย 15 จุดผิดชีววิทยาที่ควรระวัง ซึ่งแต่ละข้อที่พี่ๆ ได้คัดมา สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายข้อ ยิ่งตอนนี้ชีววิทยาวิชาสามัญ ลดจำนวนข้อจาก 100 เหลือ 80 ข้อ ทำให้การผิดแต่ละข้อ ยื่งส่งผลมากขึ้น บางข้อที่เรารู้คำตอบอยู่แล้ว แต่ดันมาตกม้าตายเพราะความไม่รอบคอบ ดังนั้นหากน้องไม่ผิดจุดผิดพวกนี้เลย น้องจะได้คะแนนเพิ่มขึ้นอีกเยอะแน่นอน

1. เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ถือว่าเป็นบทพื้นฐานที่ควรเข้าใจและจำได้ เพราะบทนี้ออกทุกปีและมีผสมอยู่กับบทอื่นๆ อีกเช่นกัน ดังนั้นหากเข้าใจหน้าที่ของส่วนประกอบแต่ละส่วน จะทำโจทย์ได้แน่นอน 

2. Mitosis VS Meiosis บทนี้ก็ออกทุกปี! ดังนั้นให้จำว่าระยะใดเกิดอะไรขึ้นบ้าง จำนวนโครโมโซม และความแตกต่างของการแบ่งเซลล์ 2 แบบ นอกจากนี้บทนี้ยังออกผสมกับอีกหลายบท ถ้าแม่นบทนี้จะประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลายบทเลย

3. ส่วนต่างๆ ของหัวใจและลำดับการไหลเวียน ขอให้แม่นว่าเลือดอะไรเข้า-ออก ชื่ออะไร เพราะเรื่องนี้ก็ออกบ่อยไม่แพ้กัน สิ่งที่ต้องระวังคือ ลิ้นหัวใจ อย่าสับสนระหว่าง TRIcuspid และ BIcuspid 

4. ระบบเลือด ABO พูดเหมือนจะง่ายแต่โจทย์จะทำให้งงมาก จำให้ดีเรื่อง antigen antibody การให้และการรับของแต่ละหมู่เลือด อะไรให้อะไรแล้วตกตะกอน

5. ระบบสืบพันธุ์ จำการสร้างไข่และอสุจิ การแบ่งตัวและจำนวนโครโมโซม อันนี้เชื่อว่าหลายคนจะโดนหลอกแน่ๆ 

6. การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ Ectoderm Mesoderm และ Endoderm เจริญไปเป็นอวัยวะหรือระบบอะไร จำให้ดีๆ เพราะหากจำได้ก็รับคะแนนไปเลย เนื่องจากเรื่องนี้มักไม่ออกซับซ้อน จะถามตรงๆ

7. อนุกรมวิธาน จำเยอะ! แต่หากจำระบบต่างๆ ได้อยู่แล้ว บทนี้จะง่ายมาก เพราะเหมือนเป็นการเอาจิ๊กซอว์แต่ละบทมาต่อรวมเป็นรูป ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ดังนั้นพอจำคร่าวๆ เกี่ยวกับระบบต่างๆก็พอ เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท และจำชื่อสัตว์ที่ออกบ่อยๆ 

8. เบสใน DNA = T A G C ส่วนใน RNA = U A G C เป็นเรื่องที่จำง่ายๆ ต่างกันแค่ 1 ตัว แต่ก็มักจะลืมในห้องสอบ ดังนั้นตั้งสติให้ดี เพราะโจทย์อาจจะดูน่ากลัวและน่าปวดหัว จากนั้นแปลงให้ถูก และอย่าลืมว่า อ่านจาก 5′ ไป 3′ นะ 

9. AUG คือ Start UAA / UAG / UGA คือ Stop เป็นเรื่องที่ดูง่ายอีกเช่นกัน แต่หลายคนเวลาทำโจทย์มักลืมและตอบผิดข้อเสมอ เหมือนคนออกข้อสอบจะรู้เรื่องนี้ดีเลยมักแต่ง choice หลอกให้เจ็บใจเล่นๆ

ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ดีไหม?

? ยอมรับมาเถอะว่า หลาย ๆ คนชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ บางคนถึงขั้นติดเพลง ต้องฟังเพลงตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนอ่านหนังสือ ทำงาน หรือตอนที่ตั้งใจทำอะไรสักอย่าง…?

การฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือ ให้ผลแตกต่างกันออกไป และปัจจัยที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน ก็ได้แก่

1. ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลแต่ละคน
อย่างบางคนชอบอ่านเงียบ ๆ ไม่อยากได้ยินหรือฟังเสียงรบกวนอะไรทั้งนั้น ถึงจะมีสมาธิจดจ่อได้ดีที่สุด หรือบางคนอาจจะชอบแบบให้มีเสียง ของสภาพแวดล้อมนิดหน่อยพอกรุบ กริบ เช่น เสียงคนคุยกันเบา ๆ เสียงทีวี วิทยุ เพราะฉะนั้น การฟังเพลงเป็นเรื่องเป็นราว จึงส่งผลด้านลบต่อคนกลุ่มนี้

2. ขึ้นกับกิจกรรมที่ทำหรือวิชาที่อ่าน (หรือเรียน)
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ทางที่ดี พยายามอย่าฟังเพลงในขณะที่อ่านหนังสือจะดีกว่า
โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับความจำ มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจ วิชาพวกนี้ ไม่ควรเปิดเพลงฟังในขณะที่อ่าน และสำหรับใครที่ต้องการฟังเพลง เพื่อให้ได้ผลทางบวก ควรฟังช่วงก่อนที่จะลงมืออ่านหรือเรียน เพราะการฟังเพลงช่วยปรับอารมณ์ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น จิตใจผ่อนคลาย และพร้อมเปิดรับการเรียนรู้ได้มากขึ้นนั่นเอง

เลขบทไหน ไม่ออกสอบ เท(พอ)ได้

ขั้นแรกต้องเข้าใจก่อนว่า “ข้อสอบเลข PAT1 วิชาสามัญ o-net ออกไม่เหมือนกันนะ ลองดูจากรูปด้านบนได้เลย!
1. PAT1 ไม่ออกแค่ 2 บท คือ ทฤษฎีกราฟ และ ทวินาม
2. วิชาสามัญ ไม่ออก 6 บท แต่ทวินามออกนะครับ (ไม่เหมือน PAT1) ปล. ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชัน คือ เรื่องสุดท้ายในสถิติ ไม่ใช่บทความสัมพันธ์และฟังก์ชันนะครับ
3. o-net ไม่ออกเยอะเลย พูดง่ายๆ คือ ออกแค่บทในเลขพื้นฐาน