16 บท 16 จุดผิด คณิตศาสตร์ ม.ปลาย

เคยเป็นมั้ย เราว่าเราก็คิดถูกหมดแล้ว เจอ choice ด้วย แต่ดันเป็นคำตอบที่ผิด!!! ข้อสอบสมัยนี้พยายามวาง choice ที่หลอกเราทุกวิถีทาง เรียกได้ว่าทำยังไงก็เจอคำตอบ แต่คำตอบนั้นจะถูกหรือผิดก็ไม่รู้ ยิ่งคณิตศาสตร์ วิชาสามัญที่มีเพียง 30 ข้อ การผิด 1 ข้อ อาจเป็น 1 อันดับที่หายไปได้เลยทีเดียว หรือ แม้แต่ PAT1 การผิด 1 ข้อ ก็มีผลมากไม่แพ้กัน ลองมาดูกันดีกว่าว่า เราจะโดนหลอกอะไรกันได้บ้าง?

1. for all หมายถึงทุกตัว 
for some หมายถึงบางตัว
เรื่องนี้จะไม่ออกในวิชาสามัญ แต่จะออกใน PAT1 บ่อยมากๆ อย่าจำสัญลักษณ์ผิดนะ (จำว่า forall เป็นเหมือนตัว Aกลับหัว) ทั้ง forall และ forsome จะอยู่หน้าประพจน์ต่างๆดูกันให้ดีๆด้วยนะ

2. เดี๋ยวนี้เรื่องเซตมักจะถามจำนวนสมาชิกบ่อยมากๆ เพราะว่าการหาจำนวนสมาชิกในเซต สามารถผสมได้กับ “ทุกบท” (ส่วนใหญ่จะผสมกับความน่าจะเป็น) เราต้องแม่นการ union และ intersect เข้าใจว่าโจทย์กำลังให้หาอะไร และเซตคำตอบนั้นมีจำนวนสมาชิกกี่ตัว

3. เส้นจำนวน คือ เรื่องที่สำคัญที่สุดในบทระบบจำนวนจริง โดยเฉพาะเวลาแก้อสมการ เราต้องดูว่าโจทย์ถาม > หรือ < และโจทย์สนใจคำตอบในช่วงไหน ส่วนใหญ่โจทย์จะผสมกับค่าสัมบูรณ์ทำให้ต้องแยกกรณีถึงจะคิดได้ หลังจากแยกกรณีเสร็จ ก็จะต้องเอาคำตอบในกรณีต่างๆ มา union หรือ intersect กัน

4. หรม ครน คือ เรื่องที่เราเรียนกันมาตั้งแต่ประถม แต่สมบัติหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือ หรม x ครน ของตัวเลข 2 ตัว จะเท่ากับผลคูณของ 2 จำนวนนั้น ใครไม่รู้นี่เตรียมเสียคะแนนได้เลย 1 ข้อเต็มๆนะจ๊ะ

5. เรขาคณิตวิเคราะห์ ส่วนใหญ่จะถามระยะห่างอยู่ 3 อย่าง คือ จุดกับจุด จุดกับเส้น เส้นกับเส้น จำสูตรและใช้สูตรให้เป็นบทนี้ไม่ยากมาก ส่วนใหญ่แล้วเค้าจะออกตัวเลขให้ถอดรูทลงตัว ถ้าเราถอดไม่ลงตัวให้สังหรณ์ใจไว้เลยว่าเราทำอะไรผิดสักอย่าง แล้วกลับไปไล่ดูตั้งแต่ขั้นตอนแรก

6. นิยามเป็นสิ่งที่บางคนไม่เน้น แต่หลังๆมาเห็นคำพูดของโจทย์บังคับให้เราต้องเข้าใจนิยามของภาคตัดกรวยมากขึ้น

1. นิยามวงกลม เซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นค่าคงที่

2. นิยมพาราโบลา คือ เซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรงคงที่เส้นหนึ่งบนระนาบ และจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบเป็นระยะทางเท่ากัน

3. นิยามวงรี คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผล “บวก” ของระยะทางจากจุดใดๆไปยังจุด F1 และ F2 ที่ตรึงอยู่กับที่มีค่าคงตัว

4. นิยมไฮเปอร์โบลา คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผล “ต่าง” ของระยะทางจากจุดใดๆไปยังจุด F1 และ F2 ที่ตรึงอยู่กับที่มีค่าคงตัว

7. ขั้นแรกเราต้องเข้าใจสัญลักษณ์ของ gof ซึ่งหมายถึง g(f(x)) ซึ่งเราส่่งค่าของ f(x)ไปให้ gเข้าใจคอนเซปตรงนี้ดีๆอย่างทำสลับกันนะ composite function ออกบ่อยมากๆ โดยเฉพาะผสมกับบทแคลคูลัสอาจมีการดิฟ composite ซึ่งเราจำเป็นต้องดิฟไส้ด้วย

8. ทั้ง expo-log ฐานมีความสำคัญมาก เช่น expo เราต้องดูฐานว่าเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือฟังก์ชันลด เพราะวิธีการทำก็จะมีความแตกต่างกัน
log เราต้องดูฐานว่าเป็นตัวเลขที่เรารู้ค่าแล้วหรือไม่ ถ้ายังเราควรจะต้องใช้สมบัติ log จัดรูปให้ฐานสามารถบวกลบกับlog ตัวอื่นๆในโจทย์ได้

9. ตรีโกณที่สำคัญที่สุดเลย คือ จำสูตรให้ได้ อย่างที่รู้กันว่าบทนี้สูตรเยอะที่่สุดใน ม.ปลาย แต่อย่าลืมนะว่าถึงจำสูตรได้แล้ว ก็ต้องมาลองทำโจทย์ดูเพื่อให้มีความคุ้นชินกับการใช้สูตรด้วยนะ

10. กฎเครเมอร์ออกทุกปีจริงๆทั้งใน PAT1 และ วิชาสามัญ คณิต 1 อย่าลืมว่าเราต้องเปลี่ยนเอา 3ตัวแรก (ที่เป็นสีเหลือง) มาใส่ถ้าจะหาค่าของตัวแปรตัวแรก x นะเรื่องนี้ลองทำโจทย์ไม่ต้องเยอะมากก็น่าจะพอทำได้แล้ว แต่บอกเลยว่าถึกพอตัว

11. เวกเตอร์ dot product กับ cross product ออกทุกปีใน PAT1 แต่ในวิชาสามัญจะเน้นการใช้สมบัติของการ dot และ cross มากกว่า สิ่งที่ควรทำ คือ เข้าใจความแตกต่างของการ dot และ cross

1. การ dot คือ ผลคูณเชิงสเกลาร์ จะออกมาได้เป็นขนาด

2. การ cross คือ ผลคูณเชิงเวกเตอร์ ออกมาจะได้เป็นทิศทาง แต่ถ้าอยากหาขนาดของการ cross คิดได้โดยการคิดแบบ det ของเมทริกซ์

12. จำนวนเชิงซ้อน คอนเซปที่สำคัญมากๆเลย คือ ถ้า z เป็นคำตอบ conjugate ของ z ก็จะเป็นคำตอบของสมการเดียวกันด้วย เช่น ถ้า a+bi เป็นคำตอบ a-bi ก็จะเป็นคำตอบด้วยเสมอ โจทย์จะชอบบอกมาคำตอบเดียวและเราต้องรู้เองว่ามีอีกคำตอบซ่อนอยู่ด้วย!

13. C n,r คือ มีของ n สิ่ง เลือกมาทีละ r สิ่ง โดยเลือกมาพร้อม ๆ กัน ใครจะมาก่อนหรือมาทีหลัง “ไม่สนใจลำดับการมาก่อนมาหลัง”
P n,r คือ n สิ่ง นำมาเรียงทีละ r สิ่ง เป็นเส้นตรง “โดยสนใจลำดับการมาก่อนมาหลัง”

เราต้องดูให้ดีๆว่าใช้แบบไหน แต่ส่วนใหญ่การสุ่มหยิบออกมาจะเป็น C n,r ส่วนการจัดเรียงของจะเป็น P n,r

C n,r คือ มีของ n สิ่ง เลือกมาทีละ r สิ่ง โดยเลือกมาพร้อม ๆ กัน ใครจะมาก่อนหรือมาทีหลัง “ไม่สนใจลำดับการมาก่อนมาหลัง”
P n,r คือ n สิ่ง นำมาเรียงทีละ r สิ่ง เป็นเส้นตรง “โดยสนใจลำดับการมาก่อนมาหลัง”

เราต้องดูให้ดีๆว่าใช้แบบไหน แต่ส่วนใหญ่การสุ่มหยิบออกมาจะเป็น C n,r ส่วนการจัดเรียงของจะเป็น P n,r

14. อนุกรมที่เราเรียนกันทั่วไปจะเป็นอนุกรมเลขคณิต และเรขาคณิต แต่ในข้อสอบ PAT1 จริงๆ จะมีอนุกรมเทเลสโคปออกมาบ่อยๆ เราต้องรู้สูตรของอนุกรมนี้ หรือ สามารถแยกพจน์ที่ทำให้สามารถตัดกันได้ ใครยังไม่รู้จัก ต้องรีบไปอ่านเลยนะ!

15. พูดง่ายแต่ทำยาก แคลคูลัสอย่าลืมดิฟไส้นะ การดิฟไส้คือการดิฟตัวด้านในวงเล็บต่อไปเรื่อยๆจนตัวในสุด โดยเฉพาะเมื่อผสมกับ composite function โดยส่วนตัวพี่แนะนำว่าเราควรเขียนดิฟไส้ทุกข้อเพื่อกันพลาด และค่อยดูว่าดิฟไส้อันสุดท้ายเป็น dx/dx = 1 หรือยัง

16. ประชากร คือ สมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในกรอบที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกส่วนหนึ่งของประชากร
พูดง่ายๆ คือ กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากร
ทีนี้สูตรที่มีความต่างกันของ 2 อันนี้ คือ ส่วนเปลี่ยนเบนมาตรฐาน ประชากรจะเป็น /n แต่ลุ่มตัวอย่างจะเป็น /(n-1) บางทีข้อสอบก็หลอกตรงนี้เหมือนกันนะ

จิตวิทยา จุฬาฯ เรียนอะไร

1. จิตวิทยา จุฬาฯ เป็นคณะไม่ใช่สาขาหรือภาควิชาเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ

2. การสอบเข้าจิตวิทยาสามารถยื่นคะแนนเข้าได้หลากหลายรูปแบบดังนั้นน้องๆ สายศิลป์ก็สามารถเข้ามาเรียนคณะนี้ได้แต่ตอนเรียนจะมีวิชาบังคับอย่างชีววิทยา สแตทด้วย แต่อย่ากังวลไปนะคะไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ แน่นอนสาเหตุที่มีวิชาเหล่านี้เนื่องจากคณะจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตรบัณฑิตและการทำงานวิจัยต่างๆ จำเป็นต้องใช้สแตทในการคำนวณด้วย(มีโปรแกรมสอนให้ใช้นะคะ ไม่ต้องคำนวณในกระดาษเอง)

3. ในระดับปริญญาตรีมีเปิดสอน 4 สาขาคือ ปรึกษา สังคม อุตสาหกรรมและองค์กรและพัฒนาการค่ะสามารถเลือกลงวิชาเรียนได้นะคะ ไม่ใช่เลือกสาขาแล้ว ต้องเรียนแค่วิชาของสาขาเท่านั้น 

4. เรียนคณะจิตวิทยาแต่สามารถเรียนโทคณะอื่นๆ ได้ เช่น นิเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์โดยสามารถเลือกเรียนโทได้ตอนเรียนชั้นปีที่ 2 โดยวิชาที่เราเลือกเรียนโท จะลดหน่วยกิตวิชาเลือกในคณะค่ะเป็นตัวเลือกที่ดีมากเลยนะคะสำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนหลายคณะแต่ตัดสินใจไม่ได้ส่วนคณะที่เปิดให้เลือกโท มีจำกัดนะคะ ไม่ใช่ทุกคณะในมหาวิทยาลัย 

5. คณะจิตวิทยามีภาคอินเตอร์Joint International Psychology Program (JIPP) 2 ปีแรกที่จะเรียนที่ไทยพอปี 3 จะไปเรียนที่ออสเตรเลีย 1 ปีที่ The University of Queensland เรียนจบได้ปริญญา 2 ใบด้วยนะคะ เป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับๆน้องที่อยากลองไปเรียนต่างประเทศและมีเพื่อนไปเรียนด้วยกันไม่เหงาแน่นอนค่ะ

6. นักจิตวิทยารักษาคนด้วยการพูดคุยบำบัด ปรับพฤติกรรมและทัศนคติ แต่จิตแพทย์ใช้ยาค่ะ 

7. มีโอกาสได้อ่านjournal หรืองานวิจัยภาษาอังกฤษบ่อยมากๆ ส่วนมากชีทเรียนจะเป็นภาษาอังกฤษด้วยแต่ถ้าภาคไทย อาจารย์ก็ยังสอนเป็นภาษาไทยนะคะ 

8. วิชาฮอตฮิตของคณะจิตวิทยาที่เลื่องลือคือ Human relations เป็นวิชาที่สอนพื้นฐานทางจิตวิทยาความสัมพันธ์และว่ากันว่าคนที่มาเรียนมักจะได้คู่กลับไป 

9. เรียนจิตวิทยาอ่านใจคนไม่ได้เราแค่ศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมมนุษย์ทำให้เราสามารถเข้าใจมนุษย์ได้ดีมากขึ้น

10. เรียนจบมาแล้วมีงานทำแน่นอนค่ะถึงแม้ว่าจะไม่มีสายงานรองรับแน่นอน (ยกเว้นจิตวิทยาการปรึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ)แต่เรียนจบคณะนี้สามารถไปทำงานได้หลากหลายมากค่ะ เพราะทุกงานมันก็ต้องมีความเกี่ยวข้องกับคน

22 บท 22 จุดผิด ฟิสกส์ ม.ปลาย

1. หน่วยฐานของฟิสิกส์
ที่ใช้บ่อยๆก็จะมี 7 ตัวหลัก คือ มวล(kg) เวลา(s) ความยาว(m) อุณหภูมิ(K) กระแสไฟฟ้า(A) ปริมาณสาร(mol) และความเข้มส่องสว่าง(cd)

2. บทกฎนิวตัน
ไม่มีอะไรเลย นอกจากเขียนแรงให้ครบ F, T, N, W, f เช็คให้ครบทุกกรณีว่าโจทย์มีแรงอะไร

3. สมดุลกล
สมดุลมี 2 แบบ สมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง และ สมดุลต่อการหมุนถ้าระบบอยู่ในสมดุลทั้ง 2แบบเรียกว่าสมดุลสัมบูรณ์

4. งานและพลังงาน เขียนพลังงานให้ครบ พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ยิดหยุ่น และที่สำคัญอย่าลืมงานจากแรงภายนอก (ปล.ในรูปพิมพ์ผิดนิดหน่อยนะครับ)

5. โมเมนตัม การชนมี 2 แบบยืดหยุ่นคือไม่เสียพลังงาน แบบไม่ยิดหยุ่นคือเสียพลังงาน แต่ทั้ง 2 แบบ “กฎอนุรักษ์โมเมนตัมยังคงใช้ได้อยู่”

6. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ทั้งแกน x และแกน y ตัวที่เท่ากัน คือเวลา (t)

7. การเคลื่อนที่แบบวงกลม
สำหรับวงกลมในแนวดิ่ง อย่าลืมคิดผลที่เกิดขึ้นจากน้ำหนักของวัตถุ(mg)

8. การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิก
การกระจัด ดิฟ ได้ความเร็ว ความเร็ว ดิฟ ได้ความเร่ง ดูกราฟการเคลื่อนที่ดีๆว่าเฟสต่างกันเท่าใดเช่น ถ้ากราฟการกระจัดเป็น sin ดิฟ sin จะได้ cos แสดงว่ากราฟความเร็วจะมีเฟสต่างจากการกระจัด90 องศา

9. การเคลื่อนที่แบบหมุน

ถ้าโจทย์บอกว่ากลิ้ง แสดงว่าจะมีทั้ง พลังงานจลน์จากการเลื่อนตำแหน่ง 1/2mv2 และ จากการหมุน 1/2Iw2

10. แก๊สและทฤษฎีจลน์
หน่วยฟิสิกส์และเคมีต่างกันนะ แต่ตัวที่เหมือนกันคือ n = mol และ T = K

11. ของแข็ง
สูตรสัมประสิทธิ์การขยายตัว วิชาสามัญรอบหลังๆออกมาครั้งหนึ่ง เรียกได้ว่าแค่จำสูตรก็ตอบได้แล้วจ้า

12. ของเหลว
แรงที่เกิดจากความสูงของน้ำจะกระทำที่จุด h/3 วัดจาก “ฐาน”

13. ของไหล
ท่อเดียวกัน ตัวที่เท่ากัน คือ อัตราการไหล (Q = AV) นะ อย่าสับสนกับตัวแปรอื่น

14. ไฟฟ้าสถิต
ประจุ q เคลื่อนที่จากศักย์สูงไปต่ำนะ ดังนั้นงานในการเคลื่อนประจุจากศักย์สูงไปต่่ำจะเป็นลบ เนื่องจากมันไม่ใช่การฝืนธรรมชาติการเคลื่อนย้ายประจุ

15. ไฟฟ้ากระแสตรง

การวนลูปอาจเป็นเรื่องที่คนบอกว่าถึกสุดเรื่องหนี่งใน ม.ปลาย แต่ถ้าหากเราเลือกที่จะวนจากจุด (Kirchoff Current Law) ในบางข้อจะเร็วกว่าการวนลูป Kirchoff Voltage Law มากๆ เอาเป็นว่าถ้าข้อไหนทำลูปแล้วเห็นว่ายากเกิน ค่อยวิเคราะห์จากจุดแล้วดู I ไหลเข้า = I ไหลออก นะครับ

16. แม่เหล็กไฟฟ้า

บทนี้คงไม่มีอะไรนอกจากจำสูตรดีๆ กับมือขวาให้ถูกนะครับ

17. ไฟฟ้ากระแสสลับ
วงจรที่มีแต่ C I นำ V …..ส่วนวงจรที่มีแต่ L V จะนำ I นะ

18. คลื่น

การหักเห หลังๆมาออกบ่อยมาก จำสมการให้ได้ทุกตัวก็พอแล้วนะ (ดูตามรูปได้เลย)

19. เสียง

คนฟังเสียงได้ 20-20,000 Hz ถ้าโจทย์ถามสูงสุดที่คนฟังได้ก็อย่าลืมตัวเลขนี้นะ

20. แสง

เกรตติง คำนวณโดยใช้สูตรเหมือน “สลิตคู่” อย่าจำสลับนะ

21. ฟิสิกส์อะตอม
eV เป็นหน่วยของพลังงานด้วยการเอา joule มาคูณด้วย 1.6×10^(-19)

22. ฟิสิกส์นิวเคลียร์
ออกทุกปี Alpha คือ 4He2 , Beta คือ 0e-1 , Gamma ไม่มีทั้งประจุและมวลแต่คือพลังงาน

15 จุดผิด ชีววิทยา part 2/3

10. ตำแหน่งและหน้าที่ของสมองแต่ละส่วน อย่าสับสนระหว่าง Cerebrum และ Cerebellum ชื่อคล้ายแต่หน้าที่ไม่คล้ายนะ!

11. Sympathetic VS Parasympathetic เลือกจำแค่อย่างเดียว เพราะก็ทราบกันอยู่แล้วว่าระบบสองอันนี้ทำงานตรงข้ามกัน แนะนำให้จำเป็นสตอรี่แล้วจะเข้าใจมากขึ้น เช่น หากเราตื่นเต้น ร่างกายเรามักจะเป็นอย่างไร

12. Hormone หรือต่อมไร้ท่อ แค่เห็นชื่อบทก็กลัวแล้ว เพราะมันเยอะจริงๆ แต่มันไม่ได้ยากแบบที่คิด เปลี่ยนจากการจำเป็นทำความเข้าใจแทน สิ่งที่มักถาม คือ insulin และ glucagon การทำงานที่มีหน้าที่ตรงข้ามกัน Adrenal cortex และ Adrenal medulla เป็นต่อมหมวกไตเหมือนกัน แต่ว่าผลิตฮอร์โมนคนละอย่างกัน อย่าสับสนนะ

เรียนออนไลน์ vs เรียนที่สถาบัน

เดี๋ยวนี้เราคงเห็นคอร์สเรียนออนไลน์ผุดออกมาเยอะแยะเต็มไปหมด เนื่องจากสะดวก ประหยัดเวลาเรียนได้ทุกที่ และมีข้อดีต่างๆมากมาย
แต่!!! เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเรียนพิเศษที่สถาบันกวดวิชายังคงมีข้อดีเหมือนกันถึงแม้จะเป็นเรียนกับคอมหรือเรียนห้องสดวันนี้เราจะมาดูกันว่าการเรียนแบบนี้ มีข้อแตกต่างกันยังไง และอันไหนเหมาะกับเรากันแน่?


เดี๋ยวนี้เราคงเห็นคอร์สเรียนออนไลน์ผุดออกมาเยอะแยะเต็มไปหมด เนื่องจากสะดวก ประหยัดเวลาเรียนได้ทุกที่ และมีข้อดีต่างๆมากมาย
แต่!!! เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเรียนพิเศษที่สถาบันกวดวิชายังคงมีข้อดีเหมือนกันถึงแม้จะเป็นเรียนกับคอมหรือเรียนห้องสดวันนี้เราจะมาดูกันว่าการเรียนแบบนี้ มีข้อแตกต่างกันยังไง และอันไหนเหมาะกับเรากันแน่?

หลักสูตรการเรียนออนไลน์ ใหม่กว่าจริงๆ ติวเตอร์ท่านใหม่ๆ พยายามหาเทคนิคต่างๆมาอย่างอัดแน่น ข้อดีคือมีความใหม่ น่าลองกระชับ สั้น เหมาะสำหรับการเรียน concept เทียบกับหลักสูตรของสถาบันกวดวิชาที่เปิดมานานแล้วอาจมีความแน่นมากกว่า เนื่องจากหลักสูตรสถาบันดังๆ ก็มีการปรับปรุงทุกปีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนตัวพี่ยังเชื่อการเรียนพิเศษที่สถาบันมากกว่าในประเด็นนี้

เรื่องการถาม การเรียนออนไลน์เดี๋ยวนี้ สามารถถามได้ง่ายขึ้นแต่ก็ยังไม่สะดวกเท่าการไปเรียนที่สถาบันแบบ face-to-face และถามตอนนั้นเลย

เรียนคนเดียวแบบออนไลน์ หรือ เรียนกับเพื่อนที่สถาบัน พี่เห็นว่าแล้วแต่ชอบจริงๆ บางคนบอกว่าตัวเองเรียนคนเดียวมีสมาธิมากกว่า เพราะเรียนกับเพื่อนแล้วก็เอาแต่คุยกัน ชวนกันไปเดินเล่น ซื้อขนม กลับมาอีกทีก็จบคาบแล้ว บางคนก็ชอบเรียนกับเพื่อนเพราะไม่เหงา เรียนหลายๆคนถ้าทุกคนตั้งใจ จะมีแรงให้ตัวเองรู้สึกว่าเราต้องตั้งใจเหมือนกัน

ประเด็นนี้สำคัญที่สุด คือ ถ้าเราเรียนที่บ้าน หรือที่ไหนก็ตามด้วยการเรียนออนไลน์ เราต้องควบคุมตัวเองให้เรียนตามเป้าหมายที่ควรเป็น ถ้าไม่มีวินัยจริงก็ไม่work พี่เห็นน้องหลายคนมากๆที่ซื้อคอร์สเรียนออนไลน์มา แต่ไม่เรียน!!! การเรียนที่สถาบัน เราจะรู้สึกว่าควบคุมได้มากกว่าให้ตัวเองไปเรียน เช่น เราเดินทางไปถึงสยามเพื่อรอเรียนพิเศษ เราก็มีแนวโน้มที่จะไม่โดด เพราะเราอุตส่าห์ไปรอเรียนถึงสยามแล้ว อันนี้ขึ้นอยู่กับวินัยของตัวน้องแล้วล่ะ

เรียนเก่งขึ้นด้วย Active Learning

by P’Win พนมวัฒน์ วรัทเศรษฐ์ 
Rank 10 วิศวะฯ จุฬาฯ คะแนน PAT3 272

? เริ่มด้วยความคิด เราจะคิดตลอดว่าเราเป็นผู้แสวงหาและเราเลือกเรียนสิ่งนี้เพราะเราอยากจะรู้

? ทุกวิชาทุกคาบที่เราเข้าไปเราจะเข้าไปพร้อมกับคิดมาก่อนแล้วว่า วิชานี้แก่นหลักของมันคืออะไร เราเรียนวิชานี้จบแล้วเราจะรู้อะไรบ้าง แล้วคาบนี้อาจารย์จะสอนเนื้อหาเราตรงไหน

? มีภาพรวมในหัวตลอด แต่ละคาบคือเหมือนต่อจิ๊กซอว์เข้าไปให้ภาพมันเต็มยิ่งขึ้น การมีภาพรวมก็เหมือนดูหน้ากล่องจิ๊กซอว์ก่อนต่ออะว่ากำลังต่อรูปอะไรอยู่

?‍? ไม่จดเลคเชอร์นะ (จดแบบลอกกระดานลงมาในสมุดอะ) จะฟังมากกว่ามานั่งจด ก็เลยอาศัยทำความเข้าใจมันเลยซะตั้งแต่ตอนนั้นอะดีสุดแล้ว

?️ การสอนเพื่อนคือวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หลังจากที่เราเข้าใจแล้วให้สอนเพื่อนโดยเริ่มจากการเอาเนื้อหานั้นมาถ่ายทอดด้วยคำพูดที่มันง่ายขึ้น ประโยชน์ที่ได้ นอกจากเพื่อนจะรู้เรื่องมากขึ้น ก็เป็นเรานี่แหละที่เอาเนื้อหามาจัดเรียงในสมองได้ดีขึ้นจากการสอนเพื่อน

? ผลจากการใช้วิธีนี้กับตัวเองพบว่าเสียเวลากับการอ่านหนังสือก่อนสอบน้อยลงมากๆ เหมือนเปิดทวนๆก็พอแล้วแล้วก็ไปฝึกทำข้อสอบ (สำหรับวิชาสายคำนวณทั้งหลาย)

พรสวรรค์ vs พรแสวง

ตัวอย่างของ พรสวรรค์ vs พรแสวง

⚽ น้องๆที่ดูบอลคงเข้าใจ หลายคนชอบบอกว่า Messi คือนักเตะที่มีพรสวรรค์ ส่วน Ronaldo คือนักเตะที่มีพรแสวง อยากให้ลองมองว่าจริงๆแล้ว Ronaldo ก็มีพรสวรรค์เช่นกัน บางทีการที่บอกว่า Ronaldo มีพรแสวง ก็คือ “พรแสวงสัมพัทธ์” เมื่อเทียบกับ Messi

⚽ “พรแสวงสัมพัทธ์” ในที่นี้หมายถึง Ronaldo อาจจะใช้ความพยายามมากกว่า Messi แต่เมื่อเทียบกับคนอื่น การที่ Ronaldo มาได้ไกลขนาดนี้ เป็นเพราะพรสวรรค์ในตัวเค้าที่มีมากกว่านักเตะคนอื่นๆ

⚽ เช่นเดียวกันกับการสอบ Entrance ของเรา ชอบมีคนถามว่าคนที่หัวดี กับคนขยัน สุดท้ายแล้วใครจะเก่งกว่ากัน คนชอบบอกกันว่า คนที่ใช้พรแสวงแล้วเก่งขึ้นมา ก็เพราะว่าฟิต ก็ขยันกว่าหนิ ได้คะแนนเท่านี้ก็ไม่แปลกหรอก ลองมองในอีกแง่ รู้ได้ยังไงว่าคนนี้ เค้าไม่มีพรสวรรค์ เค้าอาจจะเป็นคนที่มีอยู่ตั้งแต่แรก แต่ไม่เคยแสดงออกมาก็ได้ สุดท้ายการสอบมันไม่ได้วัดกันที่ คะแนนรวม = พรสวรรค์ X% + พรแสวง Y% ถ้ารู้ว่าพรสวรรค์เรามีไม่เยอะ ก็มุ่งให้พรแสวงซะ ถ้ารู้ว่าพรสวรรค์เราเยอะอยู่แล้ว ลองคิดดูว่าถ้ามุ่งให้พรแสวงด้วย จะมีใครสู้เราได้

⚽ เหมือนที่เราเห็นกันว่าในทุกปี จะต้องมีคนออกมาเถียงกันว่า Messi หรือ Ronaldo เก่งกว่ากันแต่ตัวพวกเค้าไม่ได้ทำอะไรอย่างอื่นนอกจากเถียงกับคนอื่น คนที่เอาแต่ว่าคนอื่นจะมีเวลาไปพัฒนาตนเองน้อยลง ถ้าน้องเจอคนแบบนั้น เราก็อย่าได้สนใจอะไรมากแค่พยายามทำในส่วนของเราให้ดีที่สุดก็พอแล้ว สุดท้ายคนที่ได้รางวัลก็คือตัวน้องเองไม่ใช่คนที่มาวิจารณ์น้องแน่ๆ

ทำไมซิ่วถึงยากกว่าสอบครั้งแรก?

หลายๆคนคงคิดว่าถ้าปีนี้สอบไม่ติด ปีหน้าเราก็แค่ซิ่ว เพราะว่าเราตั้งใจอยากเข้าคณะนั้นจริงๆ วันนี้แอดมินอยากมาแชร์มุมมองหนึ่งว่าการซิ่วไม่ได้ง่ายแบบนั้น

การที่เราไม่ฟิตวันนี้ ถ้าคะแนนออกมาแล้วเราขาดไป 0.1 คะแนนจะติดมันไม่ใช่ว่าปีหน้าเราทำเพิ่มอีกแค่ 0.1 นะมันคือเราต้องเริ่มต้นทั้งหมดใหม่จาก 0 คะแนน ความฟิต สังคม และ ปัจจัยภายนอกอื่นๆมันอาจนำพาให้เราไม่ได้ตั้งใจเท่าปีนี้ก็ได้ อย่างน้อยก็มีความรู้สึกที่ว่าปีที่ซิ่วตัวเองจะพลาดไม่ได้แล้ว ความคาดหวังเพิ่มขึ้นวินัยก็ต้องเพิ่มขึ้นเพราะเรามีเวลามากกว่าคนอื่นแล้ว ความกดดันก็เลยเพิ่มขึ้นด้วยพี่อยากฝากไว้สำหรับน้องๆ ที่จะสอบในปีนี้ ซิ่วไม่ใช่เรื่องง่ายการที่น้องฟิตเพิ่มขึ้นแม้วันละเล็กน้อยตั้งแต่ตอนนี้มันคุ้มค่ากว่าการที่น้องจะต้องรอเริ่มต้นใหม่อย่างแน่นอน สำหรับน้องๆ ที่ซิ่วอยู่พี่เชื่อว่าคนที่คิดจะซิ่วมาจนถึงเตอนนี้แล้วไม่ล้มเลิกไปก่อน แสดงว่าน้องจะเอาจริงแล้ว

ถ้าเราคิดว่าปีนี้จะเอาจริงแล้ว ก็เอาให้มันสุดๆ ไปเลย!

สอบติดว่ายากแล้ว สอบติดคณะที่อยากเรียนยากกว่าเยอะ

?น้องๆ หลายๆ คนคงคิดว่าแค่สอบติดก็พอแล้วแต่ความจริงแล้ว การสอบติด มันไม่ยากหรอก แต่ที่ยากจริงๆคือการสอบติดคณะที่อยากเรียน เพราะฉะนั้นการวางแผนให้ดีตั้งแต่ต้นจะทำให้เราได้เปรียบคนอื่นมากๆ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราอยากเข้าวิศวะ จุฬาฯ ซึ่งใช้ GAT PAT1 และ PAT3 ควรใช้เวลากับฟิสิกส์คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษมากที่สุด แต่พี่เห็นน้องๆหลายๆ คนที่มาถาม พยายามให้เวลากับวิชาเคมีมากๆ ทั้งๆ ที่ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษยังอ่านไม่จบ

?สิ่งแรกที่น้องควรทำ คือ “การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าอยากเข้าคณะอะไร มหาลัยไหน” ที่ต้องระบุทั้งคณะและมหาลัย เพราะว่าบางทีคณะเดียวกัน แต่คนละมหาลัยก็ใช้การสอบเข้าคนละแบบ การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนจึงสำคัญมากๆ ซึ่งเดือนกันยายนแล้ว สำหรับน้องๆ ม.6 ควรมีเป้าหมายที่แน่นอน และอ่านหนังสือหนักๆได้แล้วนะ

?สิ่งต่อมาที่น้องควรทำ คือ “การหาข้อมูลให้แน่นอน”ว่าคณะที่ตัวเองอยากเข้าต้องสอบอะไรบ้าง และโครงสร้างของข้อสอบของคณะนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ควรเน้นตรงไหน ตรงไหนไม่ต้องเน้นมากเพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่เราจะทำทุกส่วนได้ดีทั้งหมด การ “focus” กับเป้าหมายของตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

?สุดท้าย คือ “ลงมือทำ”อันนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนแล้วล่ะ ว่าจะทำให้เป้าหมายของตนเองเป็นจริงได้มั้ยพี่ๆ ขอเป็นกำลังใจให้ในการเตรียมสอบของทุกคนน้องๆสามารถหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการสอบได้ที่เพจ รู้จุดอ่อน ก่อนent พี่ๆ ทีมงานจะพยายามหา content ดีๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ มาลงเรื่อยๆ นะครับ

The loop of success

3 ขั้นตอนในการพิชิตการสอบทุกสนาม

?ช่วงนี้ก็ใกล้สอบปลายภาคกันแล้วไม่รู้ว่าเราได้เริ่มอ่านหนังสือกันหรือยัง เชื่อว่าน้องๆหลายคนคงคิดในใจว่ายังไม่ได้แตะเลย และไม่ได้แตะมาตั้งแต่ต้นเทอมแล้วนี่เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง…วันนี้พี่ๆ จึงอยากเสนอ The loop of success ซึ่งเป็น 3 ขั้นตอนในการเตรียมตัวสอบใดๆ ก็ตาม โดยขั้นตอนมีดังนี้

? 1. เข้าใจ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจจริงๆ โดยเฉพาะวิชาสายวิทย์ที่ใช้การจำอย่างเดียวไม่ได้จริงๆ เราต้องรู้ที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ขั้นตอนนี้ถึงว่าสำคัญที่สุดในการจะเริ่มต้นเรียนเรื่องต่างๆ คำถามคือ พี่!ผมจะเข้าใจได้ยังไง มีเทคนิคมั้ย พี่เลยจะบอกว่า บางทีวิธีการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิธีของพี่ จะเริ่มต้นจากการค่อยๆ อ่านทั้งเนื้อหาและตัวอย่าง แล้วก็กลับมาอ่านซ้ำหลังผ่านไปหลายๆ วันถ้าเรายังงงในจุดเดิมๆ แสดงว่าเราไม่เข้าใจจริงๆ ละ เราก็ต้องกลับมาอ่านส่วนนั้นๆ ใหม่และถ้ายังไม่เข้าใจจริงๆ พี่จะขอให้เพื่อนๆ ช่วยเชื่อว่าเพื่อนที่เก่งจริงๆ ไม่มีใครงกความรู้หรอก คนที่ทั้งเก่งและพูดรู้เรื่องนี่พี่ว่ามีอยู่เยอะนะ ถ้าเราไม่รู้ ก็แค่ไม่ต้องอายที่จะถาม

? 2.จำน้องบางคนอาจบอกว่า พี่! วิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ผมเข้าใจอย่างเดียวก็พอแล้ว จะจำทำไม แต่บางทีหลายๆคน เคยเข้าใจ และก็ลืมสิ่งที่เข้าใจนั้นไปทั้งหมดหลังจากที่เข้าใจมาแล้วไม่กี่วัน!!จะเรียกว่าไม่เคยเข้าใจก็ไม่ได้ เพราะตอนนั้นเราก็เข้าใจแล้วจริงๆ แต่ดันมาลืมไปซะหมดตอนก่อนสอบนี่แหละ พี่จึงอยากจะบอกว่า การที่เข้าใจและจำไปเลยจะเป็นผลดีต่อตัวน้องจริงๆ

? 3.ทำโจทย์หลังจากเข้าใจและจำแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประสบการณ์คือสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เหมือนเราเล่นเกมส์ การเก็บ exp เพื่อให้เลเวลสูงขึ้นก็ต้องมาจากการหาประสบการณ์จริงมั้ยล่ะการทำโจทย์ก็เหมือนกัน จะเป็นการให้เราได้ตกผลึกความรู้และยังช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่คนอื่นเห็น vs ความเป็นจริง

“ซุ่ม คืออะไร? ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจซุ่มกันแน่?”

ทำไมคนนั้นอยู่ที่โรงเรียนก็ดูเล่นๆ แต่ทำไมสอบมาคะแนนดีตลอด เรื่องจริงที่อาจไม่เคยพูด ตอนที่เราไม่เห็น เค้าอาจจะกำลังพยายามอยู่ก็ได้ จนบางที ชอบเรียกกันว่า “ซุ่ม” จากประสบการณ์ของพี่ หลายคนไม่ได้พยายามซุ่มนะ แค่เค้าไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือแล้ว ถ่ายรูปลง IG หรือ โพสต์ลงเฟสเท่านั้นเอง แต่ถ้าเพื่อนไปถาม คนที่ซุ่ม เค้าจะชอบบอกว่าตัวเองยังไม่อ่าน หรือแบบไม่รู้เรื่องเลยจริงๆ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้ว ส่วนคนที่ไม่ได้ตั้งใจซุ่ม จะช่วยเหลือเราอย่างเต็มที่

สิ่งที่อยากบอกคือ แยกคนซุมจริงๆกับคนขยันที่ไม่ได้บอกใครให้ออกนะ และอยากเป็นแบบไหนก็เลือกเอา แต่ที่แน่ๆ จะซุ่มหรือไม่ซุ่ม ถ้าอ่านหนังสือก็ดีกว่าคนที่ไม่อ่านแน่นอน…

ทำไมอ่านหนังสืออย่างเดียวไม่พอ!

ช่วงหลังๆมานี้ ในฐานะติวเตอร์ พี่เห็นน้องๆหลายคนพยายามจะทวนเนื้อหาให้แน่น โดยละเลยการทำโจทย์ให้มากเท่าที่ควร โพสนี้แค่อยากจะเตือนว่าให้น้องๆใส่ใจการทำโจทย์มากขึ้น

คนอ่านอย่างเดียว หรือจะสู้คนอ่านและทำโจทย์ด้วย เพราะประสบการณ์ในการทำโจทย์ จะช่วยให้เราสามารถนำสิ่งที่เรารู้นำมาประยุกต์ใช้และการเจอโจทย์หลากหลายรูปแบบ ทำให้เราเรียนรู้วิธีคิดและการทำ ไม่ไปตื่นเต้นตกใจในห้องสอบ เปรียบเสมือนการติดอาวุธให้ตนเองก่อนสอบ

แอป STUDYPLAN คือ แอปที่ช่วยให้น้องๆฝึกทำโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าพร้อมแล้ว…โหลดแอปแล้วฝึกทำโจทย์ได้เลย!