อ่านหนังสือไม่ทำโจทย์ vs จำโจทย์ไม่แม่นเนื้อหา

ช่วงนี้มีน้องๆหลายๆคนมาถามว่า พี่ครับ ผมจะโฟกัสที่การจำโจทย์หรืออ่านเนื้อหาแน่นๆก่อนดีครับ ซึ่งเงื่อนไขคือน้องคนนี้เลือกได้เพียงอย่างเดียว เพราะเวลาไม่ทันแล้ว

ส่วนตัวแล้วพี่คิดว่า ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือไม่ทำโจทย์ หรือ จำโจทย์ไม่แม่นเนื้อหา = พังทั้งคู่นะ

ถ้าอ่าหนังสือแต่ไม่ทำโจทย์ วันสอบจริงไม่มีประสบการณ์มากพอ ทำให้อาจจะทำข้อสอบไม่ทัน บางอย่างการอ่านอย่างเดียวไม่ฝึกฝนก็ไม่ทำให้ทำข้อสอบได้
แต่!!
ถ้ายังไม่แม่นเนื้อหาแล้วไปทำโจทย์ล่ะ?
แน่นอนจะต้องมีข้อที่ทำได้ แต่ถ้าข้อที่ไม่เคยเจอมาก่อน ก็จะทำไม่ได้ อาจไม่เห็นผลในระยะสั้นเพราะถ้าเคยเจอก็ทำได้ แต่ในระยะยาวถ้าเจอโจทย์ที่พลิกแพลงเยอะๆ ยังไงการอ่านเนื้อหาก่อนก็ดีกว่า

สุดท้าย แอป STUYDPLAN จะช่วยวางแผนให้น้องๆที่อ่านเนื้อหาแม่นระดับนึงแล้ว ทำโจทย์ได้ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ถ้าพร้อมแล้วลองกดหน้า “แผนการอ่าน” แล้วลุยทำโจทย์กันได้เลย!

5 เทคทิค แบ่งเวลาให้สอบติด!

5 เทคทิคแบ่งเวลาให้สอบติด!

1. ตั้งเป้าหมายในแต่ละวันถ้าเป้าหมายระยะยาวของเราคือสอบติด เราควรจะทำอะไรซักนิดในแต่ละวัน เช่นอ่านหนังสือวันละ 1 บท ทำโจทย์วันละ 20 ข้อ เป็นต้นลองนึกดูว่าถ้าทำแบบนี้ 1 ปี เราจะอ่านไป 365 บทเรียน และทำโจทย์ไปแล้ว 7300 ข้อ ลองคิดดูว่าจะเก่งขึ้นขนาดไหน?

2. กำหนดเวลาพักผ่อนให้ชัดเจน ข้อนี้ปัญหาเลย บางทีเราตั้งเป้าหมายแล้วแต่…เวลาพักดันมากเกินไป เราควรกำหนดเวลาพักให้แน่นอนนิดนึงเช่น จะเล่น ROV 1 เกม ถ้าทำโจทย์เสร็จแล้ว 20 ข้อของวันนี้

3. ตื่นเช้า นอนเร็ว อันนี้อาจจะแล้วแต่คนแต่ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราต้องไปโรงเรียน การนอนดึกบ่อยๆ คงไม่ดีแน่ๆ จากประสบการณ์พวกพี่ๆ ที่ต้องนอนดึกเป็นเพราะวันวันหนึ่งยังไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้…ให้เวลาตัวเองพักบ้างแล้วค่อยลุยใหม่พรุ่งนี้

4. ใช้เศษเวลาให้คุ้ม บางทีเราคงไม่ได้มีเวลา 2 – 3 ชั่วโมงต่อเนื่องในการอ่านหนังสือหรอก ใช้เวลา 15 – 20 นาทีที่ว่างๆ หยิบมันขึ้นมาอ่าน จะจบเร็วขึ้นเยอะเลย

5. กำลังเล่นมือถืออยู่ใช่ไหม??? หยุดแล้วเริ่มต้นข้อ 1 ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองได้แล้ววันนี้

3 ขั้นตอนอ่านหนังสือให้ตรงจุด

น้องๆ หลายคนอาจติวมาเยอะอ่านหนังสือมาเยอะ แต่บางทีวิธีการอ่านหนังสือของแต่ละคน อาจไม่มีประสิทธิภาพพอซึ่งกว่าเราจะรู้ว่าทั้งหมดที่เราอ่านมาเรายังไม่รู้เรื่องจริงๆ ก็อาจสายไปเสียแล้ว วันนี้พี่ๆ จึงมีวิธีการแบบใหม่มาเสนอ เพื่อให้น้องๆ อ่านหนังสือให้ตรงจุดที่สุดในเวลาที่สั้นที่สุด!

1. ตั้งเป้าหมาย ตามหลัก C-SMART
ก่อนที่จะเตรียมสอบอะไร อย่าออกเดินทางอย่างไร้จุดหมาย ประเด็นคือเป้าหมายแบบไหนถึงถือเป็นเป้าหมายที่ดีล่ะ วันนี้พี่จะสอนวิธีการตั้งเป้าหมาย ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันทั่วโลก เรียกว่า “C-SMART” 
C-SMART ย่อมาจาก
C = Challenge มีความท้าทาย ซึ่งความท้าทายแต่ละคนไม่เท่ากัน
S = Specific เฉพาะเจาะจง เช่น อยากเข้าวิศวะ ก็ระบุมหาลัยในใจไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องยึดติด
M = Measurable สามารถวัดได้ ในที่นี้ เป้าหมายคณะที่อยากเข้ามันวัดได้อยู่แล้ว
A = Attainable เป้าหมายสามารถบรรลุได้ ไม่ยากไป ไม่ง่ายไป 
R = Relevant มีความเกี่ยวข้อง เช่น น้องเป็นคนชอบเครื่องกลก็น่าเรียนวิศวะ เครื่องกล มากกว่าคณะอื่นจริงมั้ยล่ะ
T = Time-bound มีระยะเวลาที่จำกัด เช่น ผมจะสอบติดในปีนี้
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายที่ดีตามหลัก C-SMART เช่น ผมอยากจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีนี้ เนื่องจากผมเป็นคนชอบเกี่ยวกับเครื่องจักรมาตั้งแต่เด็ก เป็นตน

2. วิเคราะห์วิธีการอ่านที่เหมาะสมกับคุณ
หลักจากตั้งเป้าหมายแล้ว ถ้าไม่มีแผนทุกอย่างมันจะสะเปะสะปะไปหมดบางทีเราอาจคิดว่าเราเรียนทั้งหมดไปหมดแล้ว อ่านทวนก็หลายรอบแล้ว “เราน่าจะทำได้แหละ” ความไม่แน่ใจแบบนี้แหละที่ทำให้พอไปเจอกับสภาพจริงๆ ในห้องสอบแล้วเราบึ้ม พี่ๆ แนะนำว่าเราควรจะทำโจทย์เพื่อทดสอบตัวเองเยอะๆ จะได้แก้ไขจุดอ่อนทั้งหมดของตัวเองก่อนเข้าสอบจะรู้จุดอ่อนตัวเองยังไงล่ะ? 

3. ลงมือทำทั้งหมดตามแผนที่วางไว้
มีเป้าหมายแล้วมีแผนแล้ว แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็จะไม่ได้ผลนะน้อง พี่ๆ อยากให้น้องอ่านเนื้อหาให้แน่นและลองลุยทำโจทย์เยอะๆ แก้จุดอ่อนให้หมด น้องจะได้ไม่บึ้มตอนไปสอบจริงนะขอให้น้องๆ ทุกคนตั้งใจ เพราะนี่ก็เหลือเวลาอีกไม่มากแล้วอึดอีกนิดเดียวคุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน

5 เทคนิควิเคราะห์ตนเอง

5 เทคนิควิเคราะห์ตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเตรียมตัวสอบ

1. Morning person vs Night person
การวิเคราะห์ตนเองว่า เราสามารถอ่านหนังสือได้ดีในช่วงกลางวันหรือกลางคืน เช่น ทริคของบางคนคือ นอนเร็วแล้วตื่นตี 5 มาอ่านหนังสือ แต่พอเราลองทำกลับง่วงนอน ในทางกลับกัน เราจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือตอนกลางคืน สำหรับน้องๆ ที่เป็น Night person แนะนำให้อ่านช่วงดึกๆ แค่ตอนปิดเทอมเพราะตอนเปิดเทอมยังต้องตื่นเช้าไปเรียนหนังสือ

2. การเรียนรู้แบบไหนที่เหมาะกับตัวเรา 
วิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์เรามีหลายหลายแบบ ดังนั้นลองหาวิธีที่เหมาะกับเราดีกว่า โดยสังเกตว่าเราสามารถเข้าใจและจดจำได้ดีด้วยวิธีแบบไหน เช่น พูดและฟังเสียงตัวเองเพื่อการจดจำที่ดีกว่า การเขียนซ้ำ ทำ short note หรือไฮไลท์แบ่งข้อมูลเป็นสี หากเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองจะทำให้การเรียนรู้ของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. สถานที่ไหน เหมาะสมกับการอ่านหนังสือของเรา 
อ่านหนังสือที่บ้าน จะเงียบทำให้มีสมาธิมากกว่า เพราะบางคนหากอยู่กับเพื่อนจะชวนกันคุย แต่บางคนเลือกที่จะอ่านตามร้านกาแฟเพราะจะได้อ่านกับเพื่อน ช่วยกันคิดช่วยกันติวหนังสือและข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือ การทำให้ตนเองคุ้นชินกับสถานที่ที่มีเสียง เพราะเวลาสอบจริง ถึงแม้เราเลือกสนามสอบได้ แต่เราเลือกไม่ได้ว่าในขณะที่สอบนั้น จะมีเสียงอื่นๆ มารบกวนรึป่าว คนที่อ่านในที่เงียบๆ มาตลอด อาจจะรู้สึกว่าเสียงเหล่านั้นมารบกวนมากกว่า

4. วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
วิเคราะห์ความสามารถของเรา ว่าเราอ่อนบทไหนหรือเราแม่นบทไหนจากการที่เราฝึกทำข้อสอบ และบทไหนที่ออกเยอะและเราควรเก็บ โดยดูจากสถิติการออกข้อสอบ ซึ่งนอกจากวิเคราะห์ตามแต่ละบทแล้ว ควรวิเคราะห์ไปถึงบทย่อยในบทนั้นๆ เราจะได้ฝึกฝนเพิ่มเติมถูกจุด เพื่อที่จะเพิ่มคะแนนของเราในการทำข้อสอบ

5. หาตัวช่วยในการวิเคราะห์ตนเอง
ขอขอบคุณการสนับสนุนจากโครงการ Siam Innovation District: เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม

วิศวะฯ จุฬาฯ มีกี่สาขา?

วันนี้ทีมพี่ๆ จากวิศวะฯ จุฬาฯ จะมาเสนอคลิปวิดิโอแนะนำภาควิชาต่างๆ ซึ่งพี่ทางคณะได้จัดทำขึ้นและเป็นประโยชน์มากๆ

1. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154590452071920/
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154586300956920/
3. วิศวกรรมอุตสาหการ
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154584776906920/
4. วิศวกรรมแหล่งน้ำ(ป.โท)
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154575026466920/
5. วิศวกรรมเครื่องกล https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154572531551920/
6. วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154569878606920/
7. วิศวกรรมปิโตรเลียม
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154567618901920/
8. วิศวกรรมโยธา
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154565782806920/
9. วิศวกรรมไฟฟ้า
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154553973261920/
10. วิศวกรรมนิวเคลียร์ https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154552008301920/
11. วิศวกรรมสำรวจ
https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/10154549546906920/
12. วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
13. วิศวกรรมเคมี
14. วิศวกรรมเรือ
15. วิศวกรรมยานยนต์

นอกจากนี้ยังมีภาคอินเตอร์อีก 4 ภาค สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.ise.eng.chula.ac.th/academics
16. การออกแบบและการผลิตยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
17. วิศวกรรมนาโน(หลักสูตรนานาชาติ)
18. วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร(หลักสูตรนานาชาติ)
19. วิศวกรรมอากาศยาน(หลักสูตรนานาชาติ)

บัญชี จุฬาฯ มีกี่สาขา

1. หลักสูตรปริญญาตรี มีให้เลือกเรียนหลายภาควิชาสำหรับใครที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ก็ไม่ต้องกังวลเพราะมีหลายภาคที่ไม่ได้ใช้คณิตศาตร์เยอะ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ เนื่องจากมีวิชาบังคับที่ต้องเรียนอยู่ 
2. คณะนี้ยังมีภาควิชาที่น่าจะสนใจหลายๆภาค เช่น การตลาด (Marketing) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ(Information Technology for Business) และ ประกันภัย (Insurance) 
3. บริษัทจำลอง CBA เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม HOT HIT ที่ไม่ควรพลาด โดยโครงการนี้เป็นโครงการฝึกงานนิสิตในรูปแบบการดำเนินธุรกิจจริงซึ่งเราจะได้ลองขาย ลองทำการตลาดและส่วนอื่นๆ จริง มีค่าขนมเล็กๆ น้อยๆ ให้ด้วยนะถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่จะได้ลองเรียนรู้งานและใช้เวลาปิดเทอมให้เป็นประโยชน์
4. คณะนี้ยังมีภาคอินเตอร์หรือที่เรียกว่าBBA ซึ่งพอน้องๆ ขึ้นปี 3 จะสามารถไปเรียนแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้โดยสามารถแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยที่มีคู่กับสัญญากับทางจุฬาฯในต่างประเทศทั่วโลก เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นเกาหลี 
5. เนื่องด้วยคณะนี้มีจำนวนนิสิตเยอะมากๆทำให้มีการแบ่งกรุ๊ป เป็นโต๊ะทำให้ได้กระชับความสัมพันธ์ไม่ใช่กับแค่รุ่นเดียวกันเท่านั้นยังได้รู้จักพี่ๆ รุ่นอื่นๆ อีกด้วย
6.คณะนี้ถือว่าเป็นคณะที่อยู่ใกล้จามจุรีสแควร์ มากที่สุดดดด!!!!!! ดังนั้นไม่ต้องกลัวขาดแคลนอาหารเลยเพราะสามารถเดินไปตากแอร์ กินข้าวเที่ยงได้สบายๆ นอกจากนี้ยังใกล้ MRT สามย่านอีกด้วย เดินทางสะดวกมากๆ 
7.หากไม่อยากกินอาหารที่จามจุรีแสควร์สามย่านก็อยู่ใกล้เพียงแค่เอื้อมมือ เดินลอดอุโมงค์ไปนิดเดียวก็จะถึงสามย่านแล้ว รับรองอาหารของกินเพียบ

ทำเรียงข้อ VS เลือกข้อที่ทำได้

ทำเรียงข้อดีหรือไม่ดี?
ขั้นแรกเราควรประเมินศักยภาพตนเองก่อนว่าข้อสอบชุดนั้นยากเกินไปสำหรับเรามั้ย เช่นถ้าเป็น PAT1 ที่ยากมากๆ การทำเรียงข้อไม่ดีแน่นอนเราควรเลือกข้อให้เก็บคะแนนที่ตัวเองต้องการก็พอ แต่ถ้าหากข้อสอบเป็น speed test เช่น คณิตศาสตร์วิชาสามัญ การทำเรียงข้ออาจไม่มีข้อเสียมากนักเพราะเราก็ควรได้อ่านข้อสอบทั้งชุดอยู่แล้ว
วิธีหนึ่งที่ดีมากๆเลยในการที่จะรู้ว่าเราเหมาะกับแบบไหนคือ การลองทำข้อสอบเก่าถ้าลองทำเรียงข้อแล้ว work ก็ทำแบบนั้นต่อถ้าไม่ work ก็ต้องฝึกเลือกข้อทำแล้วล่ะ จากประสบการณ์ส่วนตัว การเลือกข้อทำเหมาะกับตัวแอดมินมากกว่าเพราะจะใช้เวลาคุ้มกว่ามากๆ ครับ

สรุป
การทำเรียงข้อ 
ข้อดี 1. ไม่ต้องเลือกข้อเอง 2. ทำไม่ได้ก็ข้ามได้
ข้อเสีย 1. อาจไม่ได้เห็นข้อหลังๆ 2. ต้องเลือกที่จะข้ามดีๆ
การเลือกข้อทำ
ข้อดี 1. ได้คะแนนในข้อที่ตัวเองมั่นใจ 2. ใช้เวลาคุ้ม
ข้อเสีย 1. ต้องใช้ความสามารถในการเลือกข้อ 2. เลือกผิดยิ่งเสียเวลา

อาชีพในฝัน VS ความเป็นจริง

สิ่งที่คิด: ส่งงาน ตรวจงาน แก้งานแล้วจบโปรเจ็ค 
ความเป็นจริง: ลูกค้าพูดไม่ชัดเจน แก้กัน 10 รอบก็มี

สิ่งที่คิด: ทำโมเดลสวยๆ อลังการ ใช้เวลาแปปเดียว 
ความเป็นจริง: ตัดโมหามรุ่งหามค่ำ

สิ่งที่คิด: นั่งจิบกาแฟ เขียนแบบชิวๆ
ความเป็นจริง: ระยะเวลาการทำงานที่จำกัด คิดแบบไม่ออก ก็ต้องคิดให้ออก!

สิ่งที่คิด: บริหารจัดการคนอื่นๆ ให้ทำงาน
ความเป็นจริง: การทำงานกับคนถือเป็นสิ่งที่ยากมากๆ เพราะคนถือเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่เราควบคุมได้ยากที่สุด การจัดการอารมณ์ความรู้สึกหรือความขัดแย้งของคนไม่ใช่เรื่องง่าย 

สิ่งที่คิด: ทำงานวันละไม่กี่ชั่วโมง เข้างานสาย ออกบ่ายก็ได้
ความเป็นจริง: ทำงานแทบ 24 ชั่วโมง ไม่มีเวลาพักผ่อนที่ชัดเจน

สิ่งที่คิด: อยากรวยเร็ว
ความเป็นจริง: เฉลี่ยแล้วจุดคุ้มทุนของธุรกิจ คือ 2 ปี (สำหรับธุรกิจที่อยู่ได้) รายได้ไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าจะมีเงินเดือนแต่กำไรก็เป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้

สิ่งที่คิด: มีอิสระ ไม่มีกฏเกณฑ์ในการทำงาน
ความเป็นจริง: ต้องมีวินัยกับตนเองเพราะไม่มีใครสั่งให้ทำ

สิ่งที่คิด: เป็นหมอแล้วสบาย รายได้ดี
ความเป็นจริง: เป็นอาชีพที่เสี่ยงเพราะต้องทำงานกับชีวิตคน ทำงานหนักไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ

สิ่งที่คิด: ทำงาน 8 โมง เลิก 5 โมง
ความเป็นจริง: ตี 2 ก็ต้องตื่น ถ้าโดนโทรเรียกจากโรงพยาบาลเมื่อมีเคสด่วน

สิ่งที่คิด: ต้องทำงานอยู่แต่ในโรงพยาบาล ไม่ได้ออกไปไหน
ความเป็นจริง: ได้พูดคุยกับคนหลากหลายแบบ หลากหลายอาชีพ ทำให้ได้เปิดโลกกว้าง

สิ่งที่คิด: แต่งหน้าสวย หน้าแน่น ปัง ปัง ปัง
ความเป็นจริง: โบกทุกอย่างเข้าไปเต็มที่ กลบใต้ตาแพนด้า ปากแดงไว้ก่อน

สิ่งที่คิด: เดินสวยๆ ถาม coffee or tea 
ความเป็นจริง: เป็นแทบทุกอย่างให้ผู้โดยสาร ทั้งแต่เด็กเสิร์ฟ แม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก พยาบาล

สิ่งที่คิด: ได้ไปเที่ยวทั่วโลก ไม่ต้องเสียค่าตั๋วเครื่องบิน 
ความเป็นจริง: ต้องสละเวลานอน ออกไปเที่ยว หรือบางทีมีเวลาแค่ดมหมอน ก็ต้องออกจากโรงแรมไปบินต่อแล้ว

สิ่งที่คิด: หุ่นเป๊ะ ผอมเพรียว สุขภาพดี 
ความเป็นจริง: ร่างพัง กิน-นอนไม่เป็นเวลา เวลาออกกำลังกายแทบไม่มี ปวดหลัง เมื่อยขา ยืนยาวเป็น 10 ชั่วโมง

สิ่งที่คิด: เดินดูงานสบายๆตรวจนู่น เช็คนี่ 
ความเป็นจริง:ถ้าอยู่ในไซต์ก่อสร้าง ก็ตากแดดตากฝนถ้าทำงานในโรงงานก็เจอฝุ่นควันและอาจเสี่ยงต่อสารอันตราย

สิ่งที่คิด:เซ็นต์แบบชิวๆ ในออฟฟิศ
ความเป็นจริง:ทำงานไกลบ้าน บางทีต้องขับรถไป – กลับข้ามจังหวัด

สิ่งที่คิด: ซ่อมได้ทุกอย่างตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้ายันบ้านหลังใหญ่
ความเป็นจริง:หลอดไฟยังเปลี่ยนไม่เป็นเลย (ขำขำนะ)

Matrix – Part 1/2

เรื่องที่ออกบ่อยๆ ในเมทริกซ์ไม่พ้น 2 เรื่องนี้แน่ๆ

?เรื่องแรก การหา inverse ดูขั้นตอนตามเส้นทางในรูปได้เลยยย
1. หาเมทริกซ์ minor ทำได้โดยการตัดแถว ตัดหลัก และหา det ของตัวที่เหลือ เช่น ตัดแถวตัดหลักที่ 1 ทิ้ง และหา det ของสี่ตัวที่เหลือ จะได้ค่าของตำแหน่งที่ 1,1 ของเมทริกซ์ minor ทำแบบนี้จนครบทุกตำแหน่งเลยนะ(ถึกหน่อย)
2. หา co-factor โดยการเอา minor ตำแหน่งที่ i กับ j บวกกันแล้วเป็นเลขคี่ คูณ -1 (สำหรับเมทริกซ์ 3×3 จะคูณแค่ 4 ตัวเสมอ)
3. หา adj โดยการเอา co-factor มา transpose จะได้ adj ของเมทริกซ์
4. เอา (1/det ของเมทริกซ์นั้น) * adj จบ!! หา inverse ได้แล้ว!!!

Matrix – Part 2/2

?เรื่องที่ 2 การทำ row operation
เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำเพื่อหา inverse แต่ค่อนข้างถึกมากๆ เลยไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ดี ข้อสอบออกเรื่องนี้บ่อยเหมือนกัน
แต่!!!! เค้าจะไม่ให้เราหา inverse จนจบแน่นอน
วิธีการทำ row operation คือ
เราสามารถเอา ค่าคงที่คูณด้วยแถวใดแถวหนึ่ง และไปบวกเข้ากับอีกแถว เช่นในตัวอย่าง พี่เอาค่าคงที่ 2 คูณกับแถวที่ 3 และไปบวกเข้าในแถวที่ 2
สัญลักษณ์ที่ใช้กัน คือ R2+2R3
โจทย์จะชอบให้เมทริกซ์ที่ผ่านการทำ row operation มาแล้ว เราต้องดูสัญลักษณ์และหาว่าเมทริกซ์ต้นแบบก่อนจะผ่าน row operation คือตัวอะไร

เรื่องนี้อาจจะยากนิดนึง ยังไงก็อย่าลืมไปอ่านเพิ่มเติมกันด้วยนะ

วิศวกร IE คืออะไร ?

?️บทความโดย พี่วิว วศ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

?“วิศวกร IE คืออะไร? เราคือวิศวกรที่มีหน้าที่ทำให้การทำงาน หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือระบบ เกิดประสิทธิผล(ทำงานแล้วได้ตามวัตถุประสงค์), มีประสิทธิภาพ (ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ), หรือสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยใช้การออกแบบ ปรับปรุงการทำงานด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่เราเรียนเช่น Optimization, สถิติ, Quality control หรืออื่น ๆ มากมาย”
“นั่นคือ IE เองมีที่ยืนของมันนะ คือเอาความรู้ไปบริหารในระดับ Operation ให้มันดี (ไปช่วยปรับปรุงการทำงาน หรือออกแบบให้ทันทำงานได้ดี)”

?“บริหารเรียนอะไร? สำหรับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี พี่ขอยกตัวอย่างที่จุฬาฯนะ สายบัญชีบริหารเองมันมีแบ่งย่อยด้านในอีกนะเป็น Marketing, Finance, Logistic, Entrepreneur ซึ่งคนที่เรียนแต่ละสายก็จะได้ความรู้ของสายนั่น ๆ ไป ซึ่งมันเป็นความรู้ที่เอาไปใช้ใน business function ต่าง ๆ การ เช่น Marketing เขาก็คือเรียนมาเพื่อไปทำการตลาด (Marketing Strategy, Pricing, Sales) Finance ก็ไปดูการเงินของบริษัท (Funding, Investment, วิเคราะห์การเงินของบริษัท)”

? “สรุป บัญชีบริหารกับ IE ต่างกันที่ คนเรียนบัญชีบริการทาง Marketing เขาก็ไปทำการตลาด เรียน Finance ก็ไปทำการเงิน สำหรับ IE เรียนมาทำให้การทำงานมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเกิดความพึงพอใจ (Logistic ของบัญชีเป็นส่วนงานที่ทับซ้อนกับ IE มากสุด ที่ทำเกี่ยวกับการขนส่ง หรือ Supply Chain)”

5 จุดผิดที่พบบ่อยใน PAT 3

ว่าที่วิศวกรฟังทางนี้…5 แนว PAT3 ที่ไม่มีในหลักสูตรแต่ออกบ่อยมาก!!!!

1. การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง
เริ่มจากการเข้าใจว่าสูตรของกำลัง P = I V (cos A) เมื่อ A คือ มุมระหว่าง V กับ I
ซึ่งหน่วยของ P คือ KW หน่วยของ R คือ KVAR และหน่วยของ Q คือ KVA
P + R = Q (บวกกันได้แบบสามเหลี่ยมปีทากอรัสเลย)
การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง คือ การเปลี่ยน cos A ซึ่งคือมุมระหว่าง V กับ I สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
ถ้า cos A เข้าใกล้ 1 แสดงว่ามุมระหว่าง V กับ I มีค่าน้อย ถ้ามุมระหว่าง V กับ I น้อย 
(cos A ยิ่งใกล้ 1 แสดงว่ากำลังสูญเสียจะน้อย)
การทำให้ cos A ลดลง ทำได้โดยการต่อตัวเก็บประจุเข้าไป สิ่งนี้ทำให้ส่วนจินตภาพ (R) ลดลง เมื่อส่วนจินตภาพ (R) ลดลง มุมระหว่าง P กับ Q ก็จะลดลง

2.3

2. เขียนแบบวิศวกรรม
เป็นเรื่องที่มีการออกข้อสอบทุกปี ปีละประมาณ 5 ข้อ โดยสิ่งที่น้องๆต้องทำได้คือ 
1. การแปลงรูป 3 มิติ ให้กลายเป็น 2 มิติในมุมมองต่างๆ เช่นมุมมองด้านบน ด้านข้าง หรือด้านหน้า 
2. การแปลงรูปจาก 2 มิติกลับไปเป็น 3 มิติ
3. รู้ความแตกต่างของเส้นตรงและเส้นประ
4. เข้าใจสัญลักษณ์การย่อขยายอัตราส่วนเช่น 5:1 คือการขยาย และ 1:3 คือการย่อ

2.4

3. ไฟฟ้า 3 เฟส
เรื่องนี้จะเรียนในวิชา Electrical Engineering (ปี 3) แต่มาออกในข้อสอบ PAT3 เฉยเลย 55555
เรื่องนี้จะถามความต่างศักย์และหว่างสายเส้นต่างๆ ซึ่งสามารถดูได้ตามรูปเลยครับ

2.5

4. ข่าวสารรอบโลก
น้องควรติดตามข่าวสารวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นประมาณ 1 หรือ 2 ปีที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่ข่าวเด่นๆรอบโลก และข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ซึ่งสามารถหาได้ง่ายๆโดย Search สรุปความเคลื่อนไหวข่าววิทยาศาสตร์ใน Internet หรือถามคนรอบข้างก็ได้

5. Engineering Sense
เรื่องนี้คงพูดยาก Sense of Engineer บางทีก็ถามเรื่องที่เราไม่คิดว่าจะถาม เช่น ปีล่าสุด ถามเรื่องการเชื่อม ซึ่งอยู่ในวิชา Manufacturing System ส่วนนี้ถ้าเราจะเตรียมได้มากที่สุด คือ การสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรมและทำข้อสอบเก่าเยอะๆ